โรคทุเรียน ถือได้ว่าเป็นศัตรูร้ายแรงต่อทุเรียนเป็นอย่างมาก เพียงจากจุดรอยเข้าทำลายเพียงเล็กน้อยหากละเลยการดูแล ป้องกัน จุดเล่านั้นจะขยายวงกว้างและเข้าทำลายต้นได้อย่างรวดเร็ว สร้างความเสียหายต่อชาวสวนเป็นอย่างมาก จนทำให้เกษตรหลายรายท้อใจกับการลงมือปลูกทุเรียนใหม่อีกครั้ง
ไฟท็อปธอร่ามีแหล่งอาศัยอยู่ภายในดิน เมื่อต้นทุเรียนอ่อนแอ หรือสภาพอากาศเหมาะสม จะยิ่งเปิดโอกาสให้เชื้อเข้าทำลายได้ง่ายขึ้น ประกอบกับหากภายในสวนมีน้ำท่วมขัง หรือมีเศษซากพืชที่ตายจากเชื้อดังกล่าว จะยิ่งเพิ่มโอกาสการเคลื่อนย้ายของสปอร์ได้มากขึ้นอีกด้วย
ลักษณะและการเข้าทำลายปรากฏจุดสีดำขนาดเล็ก สังเกตได้ง่ายตามร่องผล และมักพบร่วมกับเพลี้ยแป้ง เนื่องจากเพลี้ยแป้งขับถ่ายน้ำหวาน (Honeydew) ซึ่งเป็นแหล่งอาหารอย่างดีของราดำ รวมไปถึงเกษตรกรให้อาหารเสริมบำรุงต้นที่มีส่วนผสมของกากน้ำตาล
ลักษณะและการเข้าทำลาย ใบ ปรากฏจุดกึ่งกลม เมื่อสังเกตระยะใกล้ ขอบจุดไม่เรียบ และแตกเป็นแฉกเล็ก ๆ รอบจุด มีสีเทาอ่อนปนเขียว นูนขึ้นจากผิวหน้าใบเล็กน้อย จุดสามารถขยายขนาดขึ้นเมื่อได้รับความชื้น และแสงแดด
ลักษณะและการเข้าทำลายปรากฏเส้นใย สีขาว-ชมพู ฟู หากลุกลาม จะกระจายทั่วกิ่ง พร้อมเข้าทำลายระบบท่อน้ำและอาหาร ทำให้กิ่งแห้ง ใบเหลืองและร่วง อีกทั้งมอดเจาะลำต้นยังเป็นแมลงพาหนะนำสปอร์ราเข้าสู่ลำต้นผ่านรูที่เจาะ โดยส่วนมากมักพบโรคกิ่งแห้งภายหลังจากพบโรครากเน่าโคนเน่า
ลักษณะและการเข้าทำลายใบ บริเวณณใต้ใบมีคราบฝุ่นสีขาว (คล้ายผงแป้ง) ปกคลุมบาง ๆ กระจายทั่วใต้ใบ ซึ่งคือสปอร์ของเชื้อรา ผลอ่อน-แก่ เชื้อราจะคลุมทั่วเปลือกคล้ายกรณีใต้ใบ หากเข้าทำลายตั้งแต่ผลอ่อนอาจทำให้ผลร่วง หรือทำให้เปลือกทุเรียนเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง
ลักษณะและการเข้าทำลายปรากฏเส้นใยเชื้อราสีขาวปกคลุม และเปลี่ยนเป็นสีมพู เมื่ออายุมากขึ้น และทำให้เนื้อไม้ที่ถูกทำลายเนื้อเปลือกแห้ง เป็นขุย รวมไปถึงยังสามารถแสดงอาการบนใบได้ ทำให้ใบเหลืองและร่วง
ลักษณะและการเข้าทำลาย รากฝอย เปลือกล่อนและยุ่ยเป็นสีน้ำตาล (มักปรากฏในสวนทุเรียนที่ปลูกแบบยกร่อง) กิ่ง โคนต้นและรากแขนง แรกเริ่มมีคราบน้ำบนเปลือกผิว พร้อมรอยแตกขนาดเล็กทำให้น้ำยางซึมออกมาได้ หากรุนแรงมากขึ้น จะพบแผลเน่าสีน้ำตาลเข้ม-ดำ บริเวณกลางแผลสีเข้มกว่ารอบนอก
จุดแผลสีน้ำตาลและขยายขนาดขึ้น จนกรอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม ภายในสีน้ำตาลและมีจุดสีดำเล็ก ๆ เรียงซ้อน (คล้ายระลอกคลื่น) ซึ่งเป็นสปอร์ของเชื้อรา หรือเรียกว่า “โรคแอนเทคโนส”